fb pixel
Line facebook instagram linkedin

วันอังคาร - อาทิตย์ 10:00 - 19:00
ติดต่อ 064 196 3539

ยาปลูกผมได้ผลจริงไหม? และอีกหลายเรื่องที่ต้องรู้

เมื่อส่องกระจกแล้วรู้สึกไม่มั่นใจจากปัญหาผมร่วง หนึ่งในวิธีแก้ที่หลายคนมักนึกถึงเป็นอันดับแรกก็คือ “ยาปลูกผม” แต่จะได้ผลจริงไหม บทความนี้มีคำตอบ

ปัญหาผมร่วง ผมบางไม่ใช่เรื่องตลก เพราะนอกจากความน่ารำคาญที่ต้องเห็นเส้นผมหลุดร่วงเป็นหย่อม ๆ แล้ว ยิ่งผมร่วงมากเท่าไร ความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวันก็ยิ่งลดลงไปด้วย หลายคนถึงขั้นต้องเปลี่ยนสไตล์การแต่งตัว ต้องสวมใส่หมวกตลอดเวลาเมื่อต้องออกจากบ้าน เพื่อปกปิดศีรษะที่เริ่มล้าน และเพื่อแก้ปัญหานี้ หนึ่งในวิธียอดนิยมก็คือการใช้ “ยาปลูกผม” เข้ามาเป็นตัวช่วย

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ยาปลูกผมตามท้องตลาดจะเป็นผลิตภัณฑ์ขายดีในหมู่ผู้ที่มีปัญหาผมร่วง ผมบาง อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะตัดสินใจใช้ยาปลูกผมทุกครั้ง ลองมาทำความรู้จักกับยาปลูกผมกันให้มากขึ้นอีกสักหน่อย ว่าหากใช้เป็นประจำยาปลูกผมได้ผลจริงไหม ตลอดจนผลข้างเคียงที่อาจตามมาจะมีอะไรบ้าง ไปหาคำตอบกันได้เลย

ยาปลูกผมคืออะไร ใช้กับอาการผมร่วงผมบางแบบไหนได้บ้าง?

อธิบายให้เข้าใจกันแบบง่าย ๆ ยาปลูกผมคือยาที่ผลิตขึ้นเพื่อทำให้เส้นผมที่มีอยู่หนาขึ้น โดยเมื่อนำไปใช้ ก็จะช่วยให้ผมที่เส้นเล็กหรือบางค่อย ๆ กลับมาหนาขึ้น อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ควรรู้ก็คือ ยาปลูกผมไม่สามารถแก้ปัญหาหัวล้านหรือทดแทนการปลูกผมได้อย่างยั่งยืน เนื่องจากสาเหตุที่แท้จริงของปัญหานี้คือการที่รากผมฝ่อไปหมดแล้ว ดังนั้น การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุคือต้องปลูกผมถาวรเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ยาแก้ผมร่วงในท้องตลาดส่วนใหญ่จึงพยายามหลีกเลี่ยงคำว่าปลูกผมโดยตรง แต่หันไปใช้คำว่า “น้ำยาบำรุงเส้นผม” แทน

ในปัจจุบัน ยาแก้ผมร่วงที่ผ่านการรับรองจากทางการแพทย์มีเพียง 2 ตัวยาเท่านั้น ได้แก่ ฟีนาสเตอไรด์ (Finasteride) และไมนอกซิดิล (Minoxidil)

ประเภทของยาปลูกผม

ฟีนาสเตอไรด์

ฟีนาสเตอไรด์เป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชาย หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผมร่วง ยานี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาผมร่วงแบบพันธุกรรม ซึ่งมักพบในผู้ชาย โดยงานวิจัยทางการแพทย์ระบุว่า ผู้ชายที่รับประทานยาฟีนาสเตอไรด์ทุกวันเป็นเวลา 1 ปี จะมีจำนวนเส้นผมเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 100-120 เส้นเมื่อเทียบกับผู้ชายที่รับประทานยาหลอก

ไมนอกซิดิล

แตกต่างจากฟีนาสเตอไรด์ โดยไมนอกซิดิลเป็นยาปลูกผมที่ออกฤทธิ์ขยายหลอดเลือดบริเวณหนังศีรษะ ทำให้เส้นผมได้รับสารอาหารและออกซิเจนมากขึ้น จึงเหมาะกับการแก้ปัญหาผมร่วงทั้งแบบพันธุกรรม เป็นหย่อม และผมร่วงหลังคลอด

อ้างอิงจากงานวิจัยทางการแพทย์ พบว่าผู้ชายและผู้หญิงที่ทายาไมนอกซิดิลบริเวณหนังศีรษะวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 4 เดือน จะมีจำนวนเส้นผมเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 20-30 เส้น เมื่อเทียบกับผู้ชายและผู้หญิงที่ทายาหลอก

ยาปลูกผมได้ผลจริงไหม ตามหลักวิทยาศาสตร์

ผลลัพธ์ ระยะเวลา และผลข้างเคียง

แม้ ฟีนาสเตอไรด์ และ ไมนอกซิดิล จะมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าสามารถทำให้เส้นผมบนหนังศีรษะกลับมาดกดำมากขึ้นได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความจะได้ผลกับทุกคน ด้วยเหตุผลที่กล่าวไว้ในข้างต้น ว่าสำหรับผู้ที่รากผมฝ่อไปหมดแล้ว ยาปลูกผมไม่สามารถคืนชีพกลับมาได้

นอกจากนั้น ยาปลูกผมก็ไม่ได้แสดงผลลัพธ์แบบทันตาเห็น แต่จะต้องใช้อย่างสม่ำเสมอมากกว่า 3-6 เดือนจึงจะเริ่มเห็นผล และจะเห็นผลชัดเจนหลังจากใช้มาอย่างน้อย 1 ปี ตรงกันข้าม หากหยุดใช้ ก็มีโอกาสที่อาการผมร่วงจะกลับมาดังเดิม

อีกหนึ่งข้อที่ควรระวังก็คือการใช้ยาปลูกผมอาจมาพร้อมกับผลข้างเคียงต่อสุขภาพร่างกาย โดยยาแต่ละชนิดก็มีผลข้างเคียงที่แตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้

  • ยาฟีนาสเตอไรด์: อาจพบอาการข้างเคียง เช่น น้ำนมไหลจากเต้านม ค่าการทำงานของตับผิดปกติ ความต้องการทางเพศลดลง อวัยวะเพศแข็งตัวยากขึ้น และความผิดปกติในการหลั่งอสุจิ
  • ยาไมนอกซิดิล: อาจพบอาการข้างเคียง เช่น การเต้นของหัวใจผิดปกติ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ความดันตก หน้ามืด เป็นลม หนังศีรษะแห้ง มีอาการคัน และแผลพุพอง

รักษาอาการผมร่วงอย่างยั่งยืนที่ Bangkok Hair Clinic

ได้รู้อย่างรอบด้านแล้วว่ายาปลูกผมคืออะไร และยาปลูกผมได้ผลจริงไหม แต่สำหรับใครที่ต้องการรักษาผมร่วงอย่างปลอดภัย ได้ผล และมีแพทย์คอยดูแลอย่างใกล้ชิด สามารถมาปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่ Bangkok Hair Clinic คลินิกปลูกผมและรักษาผมบางระดับพรีเมียม ที่พร้อมให้บริการและวางแผนการรักษาอย่างมืออาชีพ ด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีอันทันสมัยครบครัน สามารถติดต่อได้ทาง Line: @bangkokhairclinic (มี @ ด้วย) หรือโทร. 02 118 7386, 064 196 3539 หรือส่งอีเมลมาที่ bangkokhairclinic@gmail.com

แหล่งอ้างอิงข้อมูล

https://www.webmd.com/beauty/thinning-hair
https://www.medicalnewstoday.com/articles/minoxidil
https://www.everydayhealth.com/hair-loss/what-you-need-to-know-about-oral-minoxidil-for-hair-loss/

lineline messagemessage callcall